. . <- ความรู้จาก NECTEC -> . .
รูปแบบการพัฒนา e-Learning ในประเทศไทย
       e-Learning นับเป็นเทคโนโลยีการเรียนรู้รูปแบบใหม่ล่าสุดที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุด และหลายๆ หน่วยงานในประเทศไทยต่างก็สนใจที่จะนำมาพัฒนาเป็นระบบการเรียนการสอนของหน่วยงานนั้นๆ โดยเป็นระบบที่พัฒนาต่อเนื่องมาจาก WBI และเพิ่มเติมระบบจัดการ/บริหารหลักสูตรและการเรียนรู้ (Course/Learning Management System: CMS/LMS) เข้ามาเพื่อให้สามารถบริหารเนื้อหาและติดตามการเรียนรู้ของผู้เรียน แต่อย่างไรก็ตามหน่วยงานและบุคคลหลายท่าน ยังเข้าใจ e-Learning คลาดเคลื่อนหลายประการ ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้ E-Learning หมายถึงการสร้างเว็บไซต์ด้านความรู้ที่นำเนื้อหาไปนำเสนอ แล้วให้นักเรียนเข้ามาศึกษา ความเข้าใจในด้านนี้ นับเป็นปัญหาใหญ่ของการใช้ระบบ e-Learning ในปัจจุบัน เพราะหลายๆ ท่าน คิดว่าการพัฒนาเว็บไซต์ แล้วนำเนื้อหารูปแบบต่างๆ เข้าไปนำเสนอ เพื่อให้นักเรียนเข้ามาศึกษาเป็น e-Learning อย่างนี้เรียกว่า Web Based Learing หรือ Web Based Instruction เท่านั้น เพราะ e-Learning ที่แท้จริง จะต้องประกอบด้วยฟังก์ชันหลักๆ ดังนี้ ระบบจัดการบริหารหลักสูตร (Course Management System: CMS) ซึ่งทำหน้าที่ช่วยผู้สอนในการบริหารเนื้อหาต่างๆ บนเว็บไซต์ เช่น มีฟังก์ชันที่ช่วยป้อนข้อมูลกึ่งอัตโนมัติ หรืออัตโนมัติ อันเป็นการลดภาระงานพิมพ์ของครูในการนำเนื้อหาเข้าไปเผยแพร่ ฟังก์ชันช่วยตรวจสอบว่าเนื้อหาบทใด ควรนำเสนอให้นักเรียนก่อนหลัง ฟังก์ชันตรวจสอบว่าเนื้อหาบทใดที่นักเรียนเรียนไปแล้ว หรือยังไม่ได้เรียน หรือเรียนยังไม่สมบูรณ์ ระบบจัดการบริหารการเรียน (Learning Management System) ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบสถานภาพต่างๆ ของผู้เรียน ผู้เรียนเป็นนักเรียนในโครงการจริงหรือไม่ นักเรียนเข้ามาเรียนจริงหรือไม่ เรียนในเวลาใด วันที่เท่าใด เรียนบทไหน และเรียนครบเนื้อหาหรือไม่อย่างไร เป็นระบบที่สามารถรายงานต่างๆ ไปยังผู้สอน หรือผู้ช่วยสอนได้ ทั้งในลักษณะของรายงาน ผลการสอบ สถิติ และค่าควบคุมต่างๆ ระบบออกแบบการเรียนรู้ (Instructional Design: ID) ระบบที่เป็นหัวใจของการพัฒนาเนื้อหาการเรียนรู้ เนื่องจาก e-Learning มุ่งเน้นการเรียนที่ Student Center ดังนั้นระบบนี้จะช่วยออกแบบว่าการนำเสนอเนื้อหาควรมีลักษณะอย่างไร และสามารถปรับประยุกต์ให้กับผู้เรียนที่มีแตกต่างกันได้
หน้า 3
หน้า 1 | 2 | 3 | 4 | 5