/?php include("connect.php");?>
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามการแบ่งส่วนราชการของวิทยาลัยครูสงขลา เมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 จึงเริ่มมีคณะเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2518 และเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับต่อ ๆ มา ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อคณะและหน่วยงานในคณะตามลำดับ ดังนี้
มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในวิทยาลัยครู มีการจัดตั้ง “คณะวิชาวิทยาศาสตร์” ขึ้น โดยมีหน่วยงานในสังกัด ดังนี้ 1.หมวดวิชาพลานามัย 2.หมวดเกษตรกรรม 3.หมวดวิชาคณิตศาสตร์ 4.หมวดวิชาวิทยาศาสตร์ 5.หมวดวิชาคหกรรมศาสตร์ 6.หมวดวิชาหัตถศึกษาและอุตสาหกรรมศิลป์
เปลี่ยนชื่อ “หมวดวิชาพลานามัย” เป็น “หมวดวิชาพลศึกษาและนันทนาการ” และจัดตั้งหมวดวิชาสุขศึกษา
มีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 จึงมีการเปลี่ยนชื่อเป็น “คณะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” และเปลี่ยนชื่อหน่วยงานในสังกัดจากหมวดวิชาเป็น “ภาควิชา” ในคณะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีหน่วยงานในสังกัด ดังนี้ 1.ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ 2.ภาควิชาเกษตรศาสตร์ 3.ภาควิชาเคมี 4.ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ 5.ภาควิชาพลศึกษาและนันทนาการ 6.ภาควิชาชีววิทยา 7.ภาควิชาอุตสาหกรรมศิลป์ 8.ภาควิชาสุขศึกษา 9.ภาควิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป
แยกภาควิชาเกษตรศาสตร์ไปจัดตั้งเป็น “คณะวิชาเกษตรและอุตสาหกรรม” ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น “คณะเทคโนโลยีการเกษตร”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม “สถาบันราชภัฏ” แทน “วิทยาลัยครู” เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 วิทยาลัยครูสงขลาจึงใช้ชื่อใหม่ว่า “สถาบันราชภัฏสงขลา” มีฐานะเป็นสถาบันอุดมศึกษา คณะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีหน่วยงานในสังกัด ดังนี้ 1.ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ 2.ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ 3.ภาควิชาชีววิทยา 4.ภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 5.ภาควิชาเคมี 6.ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม 7.ภาควิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป 8.ภาควิชาคอมพิวเตอร์ 9.ภาควิชาเทคโนโลยีการยาง 10.ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
เปลี่ยนชื่อคณะเป็นคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีหน่วยงานในสังกัด ดังนี้ 1.ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ 2.ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ 3.ภาควิชาอุตสาหกรรมศิลป์ 4.ภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 5.ภาควิชาเคมี 6.ภาควิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป 7.ภาควิชาคอมพิวเตอร์ 8.ภาควิชาชีววิทยา 9.ภาควิชาเทคโนโลยีการยาง 10.ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และได้มีการจัดตั้งหน่วยงานเพิ่มขึ้น 1 หน่วยงาน รวมเป็น 11 หน่วยงาน คือ สำนักงานเลขานุการคณะ
แยกภาควิชาอุตสาหกรรมศิลป์ไปจัดตั้งเป็น “คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม”
ทดลองนำระบบบริหารแบบโปรแกรมวิชามาใช้ในคณะ เปลี่ยนจากการบริหารแบบ“ภาควิชา” เป็น “โปรแกรมวิชา” โดยโปรแกรมวิชาประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารโปรแกรมวิชาที่ทำหน้าที่บริหารงานวิชาการ ดังนั้นคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงมีหน่วยงานในสังกัด ดังนี้ 1.สำนักงานเลขานุการคณะ 2.โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ 3.โปรแกรมวิชาสถิติประยุกต์ 4.โปรแกรมวิชาคหกรรมศาสตร์ 5.โปรแกรมวิชาคหกรรมศาสตร์ทั่วไป 6.โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 7.โปรแกรมวิชาสุขศึกษา 8.โปรแกรมวิชาเคมี 9.ปรแกรมวิชาเคมีปฏิบัติ 10.โปรแกรมวิชาชีววิทยา 11.โปรแกรมวิชาชีววิทยาประยุกต์ 12.โปรแกรมวิชาฟิสิกส์ 13.โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป 14.โปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 15.โปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา 16.ปรแกรมวิชาเทคโนโลยีการยาง 17.โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
มีการปรับเปลี่ยนหน่วยงานสังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ โดยยุบรวมโปรแกรมวิชาในสาขาวิชาเดียวกันเข้าด้วยกัน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีหน่วยงานในสังกัด ดังนี้ 1.สำนักงานเลขานุการคณะ 2.โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ 3.โปรแกรมวิชาคหกรรมศาสตร์ 4.โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 5.โปรแกรมวิชาเคมีและเคมีประยุกต์ 6.โปรแกรมวิชาชีววิทยาและชีววิทยาประยุกต์ 7.โปรแกรมวิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป 8.โปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ 9.โปรแกรมวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ 10.ปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
ผ่านร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ
(วันที่ 15 มิถุนายน) มีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จึงเป็นมหาวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ยังคงมีหน่วยงานในสังกัดเหมือนเดิม
(วันที่ 22 พฤษภาคม) มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องการแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา แบ่งส่วนราชการในคณะ เป็น “สำนักงานคณบดี” โดยปรับเปลี่ยนหน่วยงานสังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีหน่วยงานในสังกัดประกอบด้วย 1.สำนักงานคณบดี 2.ภาควิชาคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์และโปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ 3.ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย โปรแกรมวิชาเคมีและเคมีประยุกต์ โปรแกรมวิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป โปรแกรมวิชาชีววิทยาและชีววิทยาประยุกต์ โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และโปรแกรมวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ 4.โครงการจัดตั้งภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและคหกรรมศาสตร์ ประกอบด้วย โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และโปรแกรมวิชาคหกรรมศาสตร์
ปรับเปลี่ยนหน่วยงานสังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ มีหน่วยงานในสังกัดประกอบด้วย 1.สำนักงานคณบดี 2.โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ 3.โปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ 4.โปรแกรมวิชาเคมีและเคมีประยุกต์ 5.โปรแกรมวิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป 6.โปรแกรมวิชาชีววิทยาและชีววิทยาประยุกต์ 7.โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม 8.โปรแกรมวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ 9.โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 10.โปรแกรมวิชาคหกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาออกประกาศเรื่องการแบ่งส่วนราชการเป็นงานส่วนราชการ หรือ หน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่างานในมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา พ.ศ. 2560 สำนักงานคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้แบ่งส่วนราชการเป็นงานดังนี้ 1.งานบริหารงานทั่วไป 2.งานสนับสนุนพันธกิจอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลายกเลิกการจัดตั้งและการบริหารงานโปรแกรมวิชา และได้ออกประกาศเรื่องการบริหารงานวิชาการระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2561 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงมีโครงสร้างการบริหารงานวิชาการเป็นหลักสูตร จำนวน 13 หลักสูตร ดังนี้ 1.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ 2.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ 3.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี 4.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา 5.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยาประยุกต์ 6.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ 7.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 8.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ 9.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 10.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม 11.หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน 12.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและสปา 13.หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีโครงสร้างการบริหารงานวิชาการเป็นหลักสูตร จำนวน 16 หลักสูตร ดังนี้ 1.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์เชิงอุตสาหกรรม 2.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 3.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล 4.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา 5.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ 6.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ 7.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ 8.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี 9.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม 10.หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน 11.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและสปา 12.หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา 13.หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี 14.หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ 15) หลักสูตรเทคโนโลยีบัณทิต สาขาวิชานวัตกรรมการเกษตรเพื่อความยั่งยืน 16.หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนินการปิดหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน