ทุนสนับสนุนโครงการวิจัยร่วมภาครัฐและเอกชนในเชิงพาณิชย์
ชื่อแหล่งทุน
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ขอบข่าย
โครงการวิจัยร่วมภาครัฐและเอกชนในเชิงพาณิชย์ เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา คือ มหาวิทยาลัย /สถาบันอุดมศึกษากับภาคอุตสาหกรรมโดยเน้นความ ต้องการของภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นำองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัย / สถาบัน มาร่วม วิจัยและพัฒนากับกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูง ในการแข่งขันทางการตลาด เพื่อ สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ กระบวนการผลิตใหม่ๆ หรือแก้ไขปัญหาสิ่งแวคล้อมเป็นพิษที่เกิดจาก ขบวนการผลิต ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนั้นโครงการนี้ยังแสดงถึงความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนอย่างเป็นรูปธรรม
วัตถุประสงค์
1. เป็นการวิจัยที่เกิดจากความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพสูงในการแข่งขันทางการตลาต และผลงานวิจัยสามารถนำไปขยายเชิงพาณิซย์ต่อไปได้
2. ส่งเสริมการผลิตบัณฑิตระตับปริญญาโทและปริญญาเอก โดยให้โอกาสร่วมทำงาน/ฝึกงานในโรงงานอุตสาหกรรม
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์และใช้งานได้ตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและ/หรือการแก้ไขปัญหาของโรงงานอุตสาหกรรม
2. การนำผลงานวิจัยไปจดสิทธิบัตรร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและภาคอุตสาหกรรมซึ่งจะก่อให้เกิดสิทธิประโยชน์ต่อเนื่องร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม
3. เกิดกระบวนการแก้ปัญูหาด้วยการวิจัยและพัฒนาในภาคอุตสาหกรรม
4. ส่งเสริมการเรียนในระดับบัณฑิตศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาโดยนำโครงการวิจัยไปเป็นวิทยานิพนธ์ของการศึกษาในระดับปริญญาโทหรือเอกได้
5. มหาวิทยาลัย /สถาบันอุดมศึกษา(ภาคราชการ) และภาคอุตสาหกรรมได้มีประสบการณ์ร่วมกันในการทำวิจัยและพัฒนาทั้งในสถาบันอุดมศึกษาและในโรงงาน ซึ่งจะนำไปสู่การวิจัยและพัฒนาในระดับประเทศต่อไป
ลักษณะโครงการวิจัย

1. หัวข้อหรือปัญหาของโครงการวิจัยจะถูกกำหนดตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
2. เป็นโครงการวิจัยที่ภาคอุตสาหกรรมแสดงความต้องการชัดเจนที่จะทำการวิจัยและพัฒนาร่วมกันกับสถาบันอุดมศึกษา
3. โครงการวิจัยจะเป็นการทำวิจัยร่วมกันระหว่างอาจารย์และนักวิจัยของสถาบันอุดมศึกษากับนักวิจัย บุคลากร และ/หรือ วิศวกรของภาคอุตสาหกรรม
4. โครงการวิจัยต้องมีระยะเวลาในการดำเนินการไม่เกิน 1 ปี
5. เป็นโครงการวิจัยที่มีการให้ทุนสนับสนนร่วมกันระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ภาครัฐ) กับภาคอุตสาหกรรม โดยมีการกำหนดสัดส่วนให้ทุนสนับสนุนในอัตรา 70 : 30
6. สถาบันอุดมศึกษาและภาคอุตสาหกรรมมีการจดสิทธิบัตรร่วมกัน สำหรับผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นโดยกำหนดตามสัดส่วนงบประมาณที่ร่วมลงทุน ส่วนสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาขอยกสิทธ์ในการจดสิทธิบัตรให้สถาบันอุดมศึกษา โดยมีข้อกำหนดว่าทุกครั้งที่มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัยขอให้ระบุว่าได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

วิธีเสนอโครงการวิจัย
- แนวทางการดำเนินการและบริหารโครงการ
1. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีหนังสือถึงมหาวิทยาลัย/สถาบันที่มีความต้องการ/กำลัง ดำเนินการทำการวิจัยร่วมกับภาคอุตสาหกรรมเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์/กระบวนการผลิตใหม่ๆ หรือแก้ไข ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิเศษ เสนอรายงานแนวคิดเบื้องต้น (concept paper)ในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งผลที่เกิดขื้น ส่งใหคณะอนุกรรมการฯพิจารณาเบี้องต้นในด้านความสอดคล้องกับวัตฤประสงค์ และเป้าหมายของโครงการสนับสนุนงานวิจัยรัฐร่วมเอกชนเชิงพาณิชย์ รวมทั้งความเป็นไปได้ทางการตลาดในการนำผลการวิจัยไบ่ขยายผลเชิงพาณิชย์ สำหรับโครงการที่ผ่านการพิจารณาเบื้องต้นแล้วจึงจะแจ้งให้หัวหน้าโครงการฯ เสนอโครงการวิจัยเต็มรูปแบบ (Full proposal) และส่งให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาอนุมัติงบประมาณสนับสนุนต่อไป
2. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จะจัดให้มีการ ประชุมเชิงปฏิบัติการ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อพบปะปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างอาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัยของมหาวิทยาลัย /สถาบันอุดมศึกษากับนักวิจัย ฝ่ายเทคนิค วิศวกร หรือผู้บริหารของโรงงาน /ภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้ประเด็นหรือหัวข้อวิจัย ซึ่งเป็นความต้องการของภาคอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูงในการแข่งขันทางการตลาต ที่สอตคส้องกับวัตถุประสงค์ /เป้าหมาย ของโครงการสนับสนุนงานวิจัยร่วมภาครัฐและเอกชนเชิงพาณิชย์ โดยผลการวิจัยและพัฒนานอกจากจะสามารถนำไปขยายผลเชิงพาณิชย์ได้แล้ว จะสามารถส่งผลถึงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศด้วย
งบประมาณ
งบประมาณปี 2549 จำนวน 40 ล้านบาท
ระยะเวลาขอรับทุน
1 - 15 พฤจิกายน
หน่วยงานที่ติดต่อได้

สำนักประสานงานและส่งเสริมการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
328 ถ.ศรีอยุธยา ราชเทีวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ 0-2354-5500 ต่อ 729 โทรสาร 0-2354-5607

เอกสาร
แบบฟอร์มการนำเสนอเอกสารแนวคิดเบื้องต้น (Concept Paper)
หนังสือยืนยันการเข้าร่วมโครงการจากผู้ประกอบการภาคเอกชน